วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลังชนิดสูบโยก
ส่วนประกอบและการทำงาน
เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลังชนิดสูบโยก เป็นเครื่องพ่นยาขนาดเล็กที่นิยมใช้กัน
แพร่หลายแบบหนึ่ง

รูปเครื่องพ่นยาแบบสะพานหลังชนิดสูบโยก
เครื่องพ่นยาแบบนี้ประกอบด้วย ถังนํ้ายา ซึ่งวางตั้งบนพื้นได้ ทำ ให้การเทนํ้ายาเคมี
ที่ใช้กำ จัดศัตรูพืชลงไปในถังได้สะดวก อีกทั้งยังมีรูปร่างที่เหมาะสมสำ หรับใช้สะพายหลังผู้ที
พ่นยา นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ปั้ม ห้องเก็บความดัน ก้านฉีดพร้อมมือบีบพ่นนํ้า
ยา และหัวฉีด
ถังนํ้ายาอาจจะทำ มาจากสแตนเลส ทองเหลือง หรือ เหล็กเคลือบสังกะสี แต่ใน
ปัจจุบันถังที่ทำ จากโลหะเหล่านี้มีราคาสูงขึ้น ความนิยมใช้จึงลดลงและเปลี่ยนไปใช้ถังที่ทำ
จากพลาสติกแทน ทั้งนี้เพราะเมื่อสะพายหลังแล้วรู้สึกสบายและเบากว่าถังที่ทำ จากโลหะ ถัง
เครื่องพ่นยาแบบสะพานหลังชนิดสูบโยก
นํ้ายาส่วนใหญ่มีความจุประมาณ 15 ลิตร และที่ด้านข้างถังจะมีขีดบอกระดับนํ้ายาเป็น
เครื่องหมายไว้ด้วย เมื่อบรรจุนํ้ายาแล้วนํ้าหนักรวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 20 กิโลกรัม ไม่เช่น
นั้นแล้วผู้ใช้จะแยกนํ้าหนักมากเกินไป
โดยทั่วไปปากถังจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ตํ่ากว่า 10 เซนติเมตร เพื่อความ
สะดวกในการเทนํ้ายา หรือใช้มือล้วงลงไปทำ ความสะอาดภายในถัง นอกจากนั้นยังมีฝาที่
ปิดปากถังได้สนิทไม่ให้นํ้ายากระเด็นออกมากถูกหลังผู้ที่กำ ลังพ่นยา และมีตะแกรงกรองซึ่ง
เกี่ยวไว้กับปากถัง โดยยื่นลงไปภายในถังไม่ตํ่ากว่า 5 เซนติเมตร สำ หรับกรองสิ่งสกปรกที่
อาจจะติดมากับนํ้ายา
การพ่นยา
1. การปฎิบัติก่อนการพ่นยา
1.1 ตรวจสอบสภาพของลิ้น ตะแกรงกรอง ก้านฉีด ลูกสูบและกระบอกสูบ ถ้า
ชำ รุดใช้งานไม่ได้ให้เปลี่ยนหรือแก้ไขเสียก่อน
1.2 เติมนํ้าสะอาดลงไปในถังนํ้ายา ทดลองสูบโดยการโยกคันโยกไปมา เพื่อทำ
การตรวจสอบรอยรั่วตามข้อต่อต่างๆ ถ้าพบให้แก้ไขทันที ส่วนหัวฉีดนั้นถ้าละอองยามีขนาด
ใหญ่มากเกินไปก็ควรเปลี่ยนด้วย หลังจากนั้นจึงเทนํ้าทิ้ง
1.3 ตรวจสอบข้อต่อและสภาพของสายสะพายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
1.4 สวมเสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันพิษยาและเตรียมนํ้าสะอาดไว้ล้างเมื่อเกิดเหตุ
ฉุกเฉิน
1.5 เตรียมภาชนะที่ใช้ผสมยา เช่น ถัง ไม้กวน ถ้วยตวง
1.6 ผสมยาลงในถังผสมนํ้ายาอีกใบหนึ่งด้วยอัตราส่วนที่ถูกต้อง แล้วคนให้เข้ากัน
จากนั้นจึงเทใส่ลงในถังนํ้ายา ผ่านตะแกรงกรองแล้วจึงปิดฝาให้แน่น
1.7 สะพายเครื่องพ่นยาให้แน่นพอดีกับหลังผู้พ่นโดยการปรับสายสะพายให้
พอเหมาะ
2. วิธีการพ่นยา
2.1 เริ่มพ่นยาจากด้านใต้ลมโดยหันหัวฉีดไปทางใต้ลม แล้วโยกคันโยกไปมา
อย่างสมํ่าเสมอเพื่อให้ได้ละอองยาที่สมํ่าเสมอ
2.2 เดินตั้งฉากกับทิศทางลมขณะพ่นยา
2.3 ถือหัวฉีดให้ห่างจากต้นพืชพอควร อย่าเข้าใกล้จนเกินไป เพราะจะทำ ให้
นํ้ายากระจายไม่ทั่วถึงใบพืช
2.4 ในกรณีที่เป้าหมายของการพ่นยาอยู่ที่ใบ ให้ส่ายหัวฉีดในลักษณะวงกลม
ถ้าต้นพืชสูง และให้ส่ายหัวฉีดไปมาตามแนวราบ ถ้าต้นพืชเตี้ย ในกรณีที่เป้าหมายอยู่ที่โคน
ต้น ให้ลดหัวฉีดให้ตํ่าลงและส่ายไปมาในแนวราบ
2.5 ถ้าหากนํ้ายาที่ไหลออกมาจากหัวฉีดไม่สมํ่าเสมอ และรู้สึกตึงมือที่คันโยก
ให้หยุดทันที ทำ การตรวจสอบหัวฉีดหรือที่มือบีบพ่นยา อย่าให้มีอะไรอุดตัน
2.6 ขยายแนวพ่นยาขึ้นไปทางเหนือลมตลอดเวลา ถ้าลมเปลี่ยนทิศทางต้อง
หยุดพ่น ทำ เครื่องหมายไว้ และเริ่มพ่นใหม่จากแถวแรกของแปลงทางทิศใต้ลม จนกระทั่ง
ถึงเครื่องหมายที่ทำ ไว้
3. การปฏิบัติหลังการพ่นยา
3.1 พ่นนํ้ายาที่เหลือในถังให้หมด โดยการพ่นใส่พืชอื่นๆ ที่อยู่รอบ ๆ แปลงที่
พ่นยา
3.2 ถ้าจะเทนํ้ายาที่เหลือทิ้ง ให้ขุดหลุมลึกประมาณ 50 เชนติเมตร แล้วเทยา
ลงไปในหลุม อย่าเททิ้งลงในบ่อหรือคลอง เพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้นํ้านั้น
3.3 เทนํ้าสะอาดเข้าไปในถังนํ้ายา แล้วสูบพ่นนํ้าออกมาให้หมดเพื่อทำ ความ
สะอาดก้านฉีด และหัวฉีด
3.4 ใช้นํ้าสะอาดล้างถังนํ้ายาและสายสะพาย
3.5 ถอดหัวฉีดและตะแกรงกรองออกมาล้างด้วยนํ้าสะอาด
3.6 นำ เครื่องพ่นยาไปเก็บไว้ในที่ร่ม
3.7 ถอดเสื้อผ้าที่สวมไปชัก และชำ ระล้างร่างกายให้สะอาด
การบำรุงรักษา
เนื่องจากยากำ จัดศัตรูพืชมีราคาแพง ดังนั้นการบำ รุงรักษาเครื่องพ่นยาจึงมีความ
สำ คัญมาก ทั้งนี้เพราะถ้าเครื่องพ่นยาอยู่ในสภาพดีอยู่ตลอดเวลา ขณะที่พ่นยาละอองยา
ทุก ๆ เม็ดจะพุ่งเข้าสู่เป้าหมายตามส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ต้องการ โดยเกิดการสูญเสียน้อยที่
สุด การบำ รุงรักษาที่สำ คัญอันดับแรกคือการทำ ความสะอาด และตรวจสอบชิ้นส่วนต่าง ๆ
ของเครื่องพ่นยาเป็นประจำ ไม่ควรจะให้ความสนใจเฉพาะในกรณีที่ชิ้นส่วน เกิดรั่วหรือแตก
หักเท่านั้น อย่าลืมว่า การป้องกันดีกว่าการแก้ไข การบำ รุงรักษาที่ดีคือการป้องกัน ดังนั้น
ถ้าหากว่าสามารถเปลี่ยนหรือซ่อมแชมชิ้นส่วนที่สึกหรอได้ทันก่อนที่จะแตกหัก ก็จะไม่ทำ ให้
ชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเสียหายตามมา
สิ่งสกปรกที่แปลกปลอมเข้าไป ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากนํ้าที่ใช้ผสมกับสารเคมี ถ้าเป็น
นํ้าที่มาจากแม่นํ้า ลำ คลอง ก็อาจจะมีตะกอนสิ่งสกปรกติดมา ซึ่งสามารถเข้าไปอุดตันหัวฉีด
ได้ ถ้าตะกอนนั้นไปเกาะอยู่กับลิ้นลูกสูบหรือส่วนที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ส่วนนั้นก็
จะสึกหรอเร็วกว่าปกติ เพราะฉะนั้นขอให้ระวังพยายามใช้นํ้าที่สะอาดผสมยาเสมอ
การล้างด้วยนํ้าหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละน้อย ๆ ด้วยนํ้าสะอาดดีกว่าใส่นํ้าเต็มถัง แล้วล้าง
ทิ้งเพียงครั้งเดียวหรืออาจจะใช้แอมโมเนียเจือจาง จำ นวน 10 มิลลิลิตรผสมกับนํ้า 5 ลิตร
เพื่อล้างก็ได้ แต่เครื่องพ่นยานั้นต้องไม่มีชิ้นส่วนที่ทำ มาจากทองเหลือง
การถอดหัวฉีดออกทุก ๆ ชิ้นเพื่อล้างทำ ความสะอาดก็เป็นสิ่งที่จำ เป็นต้องทำ อยู่ เป็น
ประจำ ในกรณีที่หัวฉีดเกิดอุดตันขณะพ่นยา ถ้าเป็นไปได้ไห้ถอดเปลี่ยนใช้หัวฉีดหัวใหม่ที่
สำ รองไว้ หลังจากเสร็จงานแล้วจึงนำ หัวฉีดเก่ากลับไปตรวจทำ ความสะอาดนอกแปลง ถ้าไม่
มีหัวฉีดใหม่สำ รองไว้ก็ต้องมีนํ้าสะอาดอยู่ในแปลงเพื่อที่จะล้างได้ ถ้ายังไม่ออกให้ใช้วิธีเคาะ
ช่วยเพียงเบาๆ อย่าใช้ปากเป่าเป็นอันขาด เข็ม ตะปู หรือลวดก็ไม่ควรใช้แยงรูหัวฉีด เพราะ
จะทำ ให้เกิดความเสียหายได้
เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลังชนิดสูบโยก เป็นเครื่องมือที่ใช้กันแพร่หลายในการ
พ่นสารเคมีกำ จัดศัตรูพืช และนับวันจะมีการใช้กันมากขึ้น เกษตรกรที่รู้จักส่วนประกอบและ
การทำ งานของเครื่องมือชนิดนี้ย่อมได้เปรียบในการเลือกซื้อ และได้เครื่องพ่นยาที่ดีมีประ
สิทธิภาพ ส่วนวิธีการพ่นยา การบำ รุงรักษาที่ดี ตลอดจนการแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องพ่น
ยานั้นก็เป็นสิ่งที่จำ เป็นส่าหรับการใช้เครื่องให้ได้ผลดีและให้ได้นานที่สุด
ข้อขัดข้องและข้อแก้ไขเครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง
ข้อขัดข้องของเครื่องพ่นยา
การแก้ไข











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น